การพูด เป็นการสื่อสารของมนุษย์โดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปล่งเสียงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยอาศัย ภาษา เป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็น คนใบ้
การพูดมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดระหว่างบุคคล การพูดในกลุ่ม การพูดในที่ชุมชน บุคคลที่มีทักษะในการพูด สร้างแรงจูงใจให้บุคคลอื่นได้ ก็สามารถจัด ทอล์กโชว์ (talk Show) สร้างเป็นอาชีพนักวิชาการ ด้านการพูดได้
วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
ความสำคัญของการพูด
ในชีวิตประจำวันของเรา การพูดนับเป็นพฤติกรรมการใช้ภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 2 รองจากการฟัง ซึ่งเป็นกิจกรรมการใช้ภาษาที่ใช้มากที่สุด นอกจากฟังเสียงอื่น ๆ แล้วสิ่งที่ฟังก็คือเสียงพูดนั่นเอง จะเห็นได้ว่า ในแต่ละวันเราต้องใช้การพูดตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน อีกครั้งไม่น้อยเลย ถ้าจะคิดปริมาณเป็นจำนวนตัวเลขคงได้จำนวนมากมายจนน่าพิศวงตั้งแต่โบราณแล้ว การพูดช่วยให้ประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบกิจการงานต่าง ๆ จนมีผู้เห็นความสำคัญของการพูด และได้ประมวลไว้ด้วยถ้อยคำเป็นภาษิตข้อคิด ที่คมคายมากมาย เช่น
"ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา"
"พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย" เป็นต้น
สุนทรภู่ กวีเอกของไทยก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า
"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"
"ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา"
"พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย" เป็นต้น
สุนทรภู่ กวีเอกของไทยก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า
"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"
มารยาทในการพูด
มนุษย์จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ ทักษะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร คือ การพูด ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยจรรยามารยาท และคุณธรรมในการพูด การพูดโดยมีจรรยามารยาทและคุณธรรมในการพูด จึงเป็นการจรรโลงสังคมได้อีกทางหนึ่ง
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย
เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม
๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง
๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน
๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง
เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด
๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ
เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย
เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม
๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง
๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน
๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง
เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด
๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ
เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม
หลักการใช้เสียงในการพูด
การใช้เสียงในการพูดต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญ
เสียงที่ดีควรจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
ความดัง การพูดให้พอดีได้สมดุล คือ ไม่เบาจนเกินไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
ประการแรก ต้องยืดตัวตรง เพื่อให้กร้ามเนื้อที่บีบดันลมหายใจทั้งสองข้างขยายตัวเต็มที่ ไม่พูดกดหรือบีบข้างใดข้างหนึ่ง
ประการที่สอง ควรหายใจลึกๆกว่าปกติ เพื่อให้ลมหายใจเข้าไปอัดอยู่ในปอดมากเพียงพอ
มีท่วงทำนองน่าสนใจ เสน่ห์ของการพูดอยู่ที่การมีท่วงทำนองสูงๆต่ำๆ
พื้นเสียง ปกติมนุษย์เราจะมีพื้นเสียงไม่เหมือนกัน เช่น บางคนมีเสียงก้องกังวานไพเราะแจ่มใส บางคนมีเสียงแหบแห้งแตกพร่า
จังหวะของเสียง จังหวะต้องพอเหมาะ ไม่ช้ามาก จนดูเหมือนลากเสียงพูด ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเร็วมากจนฟังไม่ทัน มีความชัดเจนถูกต้อง
การวางตัวในการพูด
ก่อนพูด ผู้พูดหลักควรนำคณะไปยังเวทีประธานในที่นั้นตามไปเป็นคนสุดท้าย
เมื่อเริ่มพูด เมื่อประธานเริ่มแนะนำ ให้ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงโดยการสงบอย่างปกติ และก้าวเดินไปยังที่พูด อย่ารอจนแนะนำเสร็จแล้วจึงพรวดพรากลุกขึ้นเดินไปยังที่พูด
ระหว่างที่พูด ต้องสนใจอยู่ที่ความคิดและผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจกับตัวเองว่า ท่าทางเป็นอย่างไร คนปรบมือให้หรือไม่
หลังจากพูดจบ เวลาจบไม่ควรพูดคำว่า “ขอบคุณ” เว้นแต่ว่าเป็นคนขอขึ้นมาพูดหรือขอมาพูดเอง อาจกล่าวคำว่า “สวัสดี” แทน “ขอบคุณ”ก็ได้
ความดัง การพูดให้พอดีได้สมดุล คือ ไม่เบาจนเกินไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
ประการแรก ต้องยืดตัวตรง เพื่อให้กร้ามเนื้อที่บีบดันลมหายใจทั้งสองข้างขยายตัวเต็มที่ ไม่พูดกดหรือบีบข้างใดข้างหนึ่ง
ประการที่สอง ควรหายใจลึกๆกว่าปกติ เพื่อให้ลมหายใจเข้าไปอัดอยู่ในปอดมากเพียงพอ
มีท่วงทำนองน่าสนใจ เสน่ห์ของการพูดอยู่ที่การมีท่วงทำนองสูงๆต่ำๆ
พื้นเสียง ปกติมนุษย์เราจะมีพื้นเสียงไม่เหมือนกัน เช่น บางคนมีเสียงก้องกังวานไพเราะแจ่มใส บางคนมีเสียงแหบแห้งแตกพร่า
จังหวะของเสียง จังหวะต้องพอเหมาะ ไม่ช้ามาก จนดูเหมือนลากเสียงพูด ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเร็วมากจนฟังไม่ทัน มีความชัดเจนถูกต้อง
การวางตัวในการพูด
ก่อนพูด ผู้พูดหลักควรนำคณะไปยังเวทีประธานในที่นั้นตามไปเป็นคนสุดท้าย
เมื่อเริ่มพูด เมื่อประธานเริ่มแนะนำ ให้ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงโดยการสงบอย่างปกติ และก้าวเดินไปยังที่พูด อย่ารอจนแนะนำเสร็จแล้วจึงพรวดพรากลุกขึ้นเดินไปยังที่พูด
ระหว่างที่พูด ต้องสนใจอยู่ที่ความคิดและผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจกับตัวเองว่า ท่าทางเป็นอย่างไร คนปรบมือให้หรือไม่
หลังจากพูดจบ เวลาจบไม่ควรพูดคำว่า “ขอบคุณ” เว้นแต่ว่าเป็นคนขอขึ้นมาพูดหรือขอมาพูดเอง อาจกล่าวคำว่า “สวัสดี” แทน “ขอบคุณ”ก็ได้
การพูดในที่ชุมชน
การพูดในที่ชุมชน คือ การพูดในที่สาธารณะ มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ผู้พูดต้องสนใจปฏิกิริยาตอบสนอง ผู้ฟัง ทั้งเป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษาการพูดต่อหน้าประชุมชนเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้พูดได้แสดง ความสามารถเฉพาะตัวเพราะทุกคนที่ไม่เป็นใบ้ย่อมพูดได้ แต่บางคนเท่านั้นที่พูดเป็น เพราะการพูด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่จำเป็นต้องอาศัยพรสวรรค์เสมอไปแต่สามารถพูดได้ เพราะการศึกษา การ ฝึกฝน ฉะนั้นการฝึกพูดในที่ประชุมชน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงบุคลิกภาพทั้งภายในและ ภายนอกเพื่อการเป็นนักพูดที่ดี | |
วิธีการพูดในที่ชุมชน | |
๑. พูดแบบท่องจำ เตรียมเรื่องพูดอย่างมีคุณค่า สาระถูกต้องเหมาะสม แล้วจำเรื่องพูดให้ได้ เวลา
พูดให้เป็น ธรรมชาติ มีลีลา จังหวะ ถ่ายทอดออกมาทุกตัวอักษร ๒. พูดแบบมีต้นฉบับ พูดไปอ่านไป จากต้นร่างที่เตรียมมาอย่างดีแล้ว แต่ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่าน เพราะไม่ใช่ ผลดีสำหรับผู้พูด ๓. พูดจากความเข้าใจ เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า ถ่ายทอดสารจากความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีต้นฉบับ เฉพาะหัวข้อสำคัญเท่านั้น เช่น การพูด , สนทนา , อภิปราย , สัมภาษณ์ ๔. พูดแบบกะทันหัน พูดโดยไม่มีโอกาสเตรียมตัวเลย ซึ่งผู้พูดต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ ปัญหาฉพาะหน้า เมื่อทราบว่าตนเองต้องได้พูด ต้องเตรียมลำดับความคิด และนำเสนออย่างฉับพลัน การพูดทั้ง 4 แบบนี้ เป็นวิธีการนำเสนอสารต่อผู้ฟัง ผู้พูดจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เพื่ออะไร เนื้อหา สาระ โอกาส และสถานการณ์ | |
การกล่าวคำอวยพร
การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส การกล่าวในงานพิธีมงคลสมรสจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที นิยมกล่าวปากเปล่า ซึ่งมีหลักการกล่าวที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติดังนี้
๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
๒) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้มาอวยพร
๓) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว
๔) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต และการครองรัก
๕) อวยพรและชักชวนให้ดื่ม
การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ชาวไทยทุกคนต่างก็ทำบุญตักบาตร จัดงานเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกในหมู่ผู้ร่วมงานเดียวกัน ในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายการกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้
๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
๒ กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา
๓) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่
๔) อวยพร
การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด การกล่าวอวยพรตามประเพณีนิยมนั้น มีการกล่าวอวยพรเมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร และผู้รับเชิญก็จะถือเอาผู้ที่มีอาวุโสในที่ประชุมนั้น หรือบางทีก็เป็นบุตรหัวปี เป็นผู้กล่าวในการกล่าวพิธีเช่นดังกล่าวนี้ มีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้
๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
๒) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวอวยพร
๓) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น
๔) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
๕) อวยพรให้มีความสุข
๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
๒) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้มาอวยพร
๓) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว
๔) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต และการครองรัก
๕) อวยพรและชักชวนให้ดื่ม
การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ชาวไทยทุกคนต่างก็ทำบุญตักบาตร จัดงานเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกในหมู่ผู้ร่วมงานเดียวกัน ในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายการกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้
๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
๒ กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา
๓) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่
๔) อวยพร
การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด การกล่าวอวยพรตามประเพณีนิยมนั้น มีการกล่าวอวยพรเมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร และผู้รับเชิญก็จะถือเอาผู้ที่มีอาวุโสในที่ประชุมนั้น หรือบางทีก็เป็นบุตรหัวปี เป็นผู้กล่าวในการกล่าวพิธีเช่นดังกล่าวนี้ มีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้
๑) กล่าวคำปฏิสันถาร
๒) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวอวยพร
๓) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น
๔) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
๕) อวยพรให้มีความสุข
การพูดสุนทรพจน์
สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็นการกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดีในทางการเมือง การกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง มักได้รับการยกย่องว่าเป็นการพูดชั้นยอด
ลักษณะการพูดสุนทรพจน์
ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง
โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์
๑. ตอนเปิดเรื่อง กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
๒. ดำเนินเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
๓. ตอนจบเรื่อง สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป โครงสร้าง
ขั้นตอนของสุนทรพจน์
คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction) เป็นการบอกกล่าวว่าผู้พูดเป็นใคร พูดในฐานะอะไรในโอกาสใด แล้วนำเข้าสู่เนื้อหาด้วยวิธีการที่เร้าความสนใจ เช่นใช้สุภาษิต คำคม หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไป
เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion) ควรแยกประเด็นเป็นข้อๆ โดยคำนึงถึงเอกภาพ คือความเป็นหนึ่งเดียวของเรื่อง สัมพันธภาพคือความเกี่ยวเนื่องกัน และสารัตถภาพ หรือการเน้นย้ำประเด็นสำคัญของเรื่อง และประเด็นต้องมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion) อาจทำได้หลายวิธี เช่น สรุปทบทวนประเด็นเนื้อหาเสนอข้อคิด หรือแนวทางการปฏิบัติเน้นประเด็นสำคัญ และแสดงความหวังว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
"ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน และตอนจบให้จับใจ "
ลักษณะการพูดสุนทรพจน์
ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง
โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์
๑. ตอนเปิดเรื่อง กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
๒. ดำเนินเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
๓. ตอนจบเรื่อง สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป โครงสร้าง
ขั้นตอนของสุนทรพจน์
คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction) เป็นการบอกกล่าวว่าผู้พูดเป็นใคร พูดในฐานะอะไรในโอกาสใด แล้วนำเข้าสู่เนื้อหาด้วยวิธีการที่เร้าความสนใจ เช่นใช้สุภาษิต คำคม หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไป
เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion) ควรแยกประเด็นเป็นข้อๆ โดยคำนึงถึงเอกภาพ คือความเป็นหนึ่งเดียวของเรื่อง สัมพันธภาพคือความเกี่ยวเนื่องกัน และสารัตถภาพ หรือการเน้นย้ำประเด็นสำคัญของเรื่อง และประเด็นต้องมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion) อาจทำได้หลายวิธี เช่น สรุปทบทวนประเด็นเนื้อหาเสนอข้อคิด หรือแนวทางการปฏิบัติเน้นประเด็นสำคัญ และแสดงความหวังว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
"ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน และตอนจบให้จับใจ "
การพูดแนะนำตนเอง
การพูดแนะนำตนเป็นการพูดที่แทรกอยู่กับการพูดลักษณะต่าง ๆ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะทำให้ผู้ฟังมีความรู้เกี่ยวกับผู้พูด การแนะนำตนจะให้รายละเอียดแตกต่างกันไปตามลักษณะการพูดแต่ละประเภทซึ่งสามารถสรุป ได้ดังนี้
๑. การพูดแนะนำตนในกลุ่มของนักเรียน เป็นการพูดที่มีจุดประสงค์เพื่อทำความรู้จักกันในหมู่เพื่อน หรือแนะนำตัวในขณะทำกิจกรรม ควรระบุรายละเอียดสำคัญ คือ
๑ ) ชื่อและนามสกุล
๒ ) รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา
๓ ) ที่อยู่ปัจจุบัน และภูมิลำเนาเดิม
๔ ) ความสามารถพิเศษ
๕ ) กิจกรรมที่สนใจ และต้องการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรม
๒. การพูดแนะนำตนเพื่อเข้าปฏิบัติงาน หรือรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา ควรระบุถึงประเด็นสำคัญ คือ
๑ ) ชื่อและนามสกุล
๒ ) รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา
๓ ) ตำแหน่งหน้าที่ที่จะเข้ามาปฏิบัติ
๔ ) ระยะทางที่จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่
๓. การแนะนำบุคคลอื่นในงานสังคมหรือในที่ประชุม โดยให้รายละเอียด ดังนี้
๑ ) ชื่อและนามสกุลของผู้ที่เราแนะนำ
๒ ) ความสามารถของผู้ที่เราแนะนำ
๓ ) ไม่ควรแนะนำอย่างยืดยาว และไม่นำเรื่องส่วนตัวที่จะทำให้ผู้อื่นอับอาย หรือตะขิดตะขวงใจมาพูด
๔ ) การแนะนำบุคคลให้ผู้อื่นรู้จักต้องใช้คำพูดเพื่อสร้างไมตรีที่ดีระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย
๑. การพูดแนะนำตนในกลุ่มของนักเรียน เป็นการพูดที่มีจุดประสงค์เพื่อทำความรู้จักกันในหมู่เพื่อน หรือแนะนำตัวในขณะทำกิจกรรม ควรระบุรายละเอียดสำคัญ คือ
๑ ) ชื่อและนามสกุล
๒ ) รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา
๓ ) ที่อยู่ปัจจุบัน และภูมิลำเนาเดิม
๔ ) ความสามารถพิเศษ
๕ ) กิจกรรมที่สนใจ และต้องการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรม
๒. การพูดแนะนำตนเพื่อเข้าปฏิบัติงาน หรือรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา ควรระบุถึงประเด็นสำคัญ คือ
๑ ) ชื่อและนามสกุล
๒ ) รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา
๓ ) ตำแหน่งหน้าที่ที่จะเข้ามาปฏิบัติ
๔ ) ระยะทางที่จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่
๓. การแนะนำบุคคลอื่นในงานสังคมหรือในที่ประชุม โดยให้รายละเอียด ดังนี้
๑ ) ชื่อและนามสกุลของผู้ที่เราแนะนำ
๒ ) ความสามารถของผู้ที่เราแนะนำ
๓ ) ไม่ควรแนะนำอย่างยืดยาว และไม่นำเรื่องส่วนตัวที่จะทำให้ผู้อื่นอับอาย หรือตะขิดตะขวงใจมาพูด
๔ ) การแนะนำบุคคลให้ผู้อื่นรู้จักต้องใช้คำพูดเพื่อสร้างไมตรีที่ดีระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย
VDOแนะนำตัว
นางสาวอมรวรรณ ลครศรี
รหัสนิสิต 56010514099
สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)