การพูด เป็นการสื่อสารของมนุษย์โดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปล่งเสียงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยอาศัย ภาษา เป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็น คนใบ้
การพูดมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดระหว่างบุคคล การพูดในกลุ่ม การพูดในที่ชุมชน บุคคลที่มีทักษะในการพูด สร้างแรงจูงใจให้บุคคลอื่นได้ ก็สามารถจัด ทอล์กโชว์ (talk Show) สร้างเป็นอาชีพนักวิชาการ ด้านการพูดได้
การพูด(Speech)
วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
ความสำคัญของการพูด
ในชีวิตประจำวันของเรา การพูดนับเป็นพฤติกรรมการใช้ภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 2 รองจากการฟัง ซึ่งเป็นกิจกรรมการใช้ภาษาที่ใช้มากที่สุด นอกจากฟังเสียงอื่น ๆ แล้วสิ่งที่ฟังก็คือเสียงพูดนั่นเอง จะเห็นได้ว่า ในแต่ละวันเราต้องใช้การพูดตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน อีกครั้งไม่น้อยเลย ถ้าจะคิดปริมาณเป็นจำนวนตัวเลขคงได้จำนวนมากมายจนน่าพิศวงตั้งแต่โบราณแล้ว การพูดช่วยให้ประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบกิจการงานต่าง ๆ จนมีผู้เห็นความสำคัญของการพูด และได้ประมวลไว้ด้วยถ้อยคำเป็นภาษิตข้อคิด ที่คมคายมากมาย เช่น
"ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา"
"พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย" เป็นต้น
สุนทรภู่ กวีเอกของไทยก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า
"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"
"ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา"
"พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย" เป็นต้น
สุนทรภู่ กวีเอกของไทยก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า
"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"
มารยาทในการพูด
มนุษย์จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ ทักษะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร คือ การพูด ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยจรรยามารยาท และคุณธรรมในการพูด การพูดโดยมีจรรยามารยาทและคุณธรรมในการพูด จึงเป็นการจรรโลงสังคมได้อีกทางหนึ่ง
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย
เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม
๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง
๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน
๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง
เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด
๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ
เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย
เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม
๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง
๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน
๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง
เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด
๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ
เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม
หลักการใช้เสียงในการพูด
การใช้เสียงในการพูดต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญ
เสียงที่ดีควรจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
ความดัง การพูดให้พอดีได้สมดุล คือ ไม่เบาจนเกินไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
ประการแรก ต้องยืดตัวตรง เพื่อให้กร้ามเนื้อที่บีบดันลมหายใจทั้งสองข้างขยายตัวเต็มที่ ไม่พูดกดหรือบีบข้างใดข้างหนึ่ง
ประการที่สอง ควรหายใจลึกๆกว่าปกติ เพื่อให้ลมหายใจเข้าไปอัดอยู่ในปอดมากเพียงพอ
มีท่วงทำนองน่าสนใจ เสน่ห์ของการพูดอยู่ที่การมีท่วงทำนองสูงๆต่ำๆ
พื้นเสียง ปกติมนุษย์เราจะมีพื้นเสียงไม่เหมือนกัน เช่น บางคนมีเสียงก้องกังวานไพเราะแจ่มใส บางคนมีเสียงแหบแห้งแตกพร่า
จังหวะของเสียง จังหวะต้องพอเหมาะ ไม่ช้ามาก จนดูเหมือนลากเสียงพูด ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเร็วมากจนฟังไม่ทัน มีความชัดเจนถูกต้อง
การวางตัวในการพูด
ก่อนพูด ผู้พูดหลักควรนำคณะไปยังเวทีประธานในที่นั้นตามไปเป็นคนสุดท้าย
เมื่อเริ่มพูด เมื่อประธานเริ่มแนะนำ ให้ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงโดยการสงบอย่างปกติ และก้าวเดินไปยังที่พูด อย่ารอจนแนะนำเสร็จแล้วจึงพรวดพรากลุกขึ้นเดินไปยังที่พูด
ระหว่างที่พูด ต้องสนใจอยู่ที่ความคิดและผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจกับตัวเองว่า ท่าทางเป็นอย่างไร คนปรบมือให้หรือไม่
หลังจากพูดจบ เวลาจบไม่ควรพูดคำว่า “ขอบคุณ” เว้นแต่ว่าเป็นคนขอขึ้นมาพูดหรือขอมาพูดเอง อาจกล่าวคำว่า “สวัสดี” แทน “ขอบคุณ”ก็ได้
ความดัง การพูดให้พอดีได้สมดุล คือ ไม่เบาจนเกินไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
ประการแรก ต้องยืดตัวตรง เพื่อให้กร้ามเนื้อที่บีบดันลมหายใจทั้งสองข้างขยายตัวเต็มที่ ไม่พูดกดหรือบีบข้างใดข้างหนึ่ง
ประการที่สอง ควรหายใจลึกๆกว่าปกติ เพื่อให้ลมหายใจเข้าไปอัดอยู่ในปอดมากเพียงพอ
มีท่วงทำนองน่าสนใจ เสน่ห์ของการพูดอยู่ที่การมีท่วงทำนองสูงๆต่ำๆ
พื้นเสียง ปกติมนุษย์เราจะมีพื้นเสียงไม่เหมือนกัน เช่น บางคนมีเสียงก้องกังวานไพเราะแจ่มใส บางคนมีเสียงแหบแห้งแตกพร่า
จังหวะของเสียง จังหวะต้องพอเหมาะ ไม่ช้ามาก จนดูเหมือนลากเสียงพูด ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเร็วมากจนฟังไม่ทัน มีความชัดเจนถูกต้อง
การวางตัวในการพูด
ก่อนพูด ผู้พูดหลักควรนำคณะไปยังเวทีประธานในที่นั้นตามไปเป็นคนสุดท้าย
เมื่อเริ่มพูด เมื่อประธานเริ่มแนะนำ ให้ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงโดยการสงบอย่างปกติ และก้าวเดินไปยังที่พูด อย่ารอจนแนะนำเสร็จแล้วจึงพรวดพรากลุกขึ้นเดินไปยังที่พูด
ระหว่างที่พูด ต้องสนใจอยู่ที่ความคิดและผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจกับตัวเองว่า ท่าทางเป็นอย่างไร คนปรบมือให้หรือไม่
หลังจากพูดจบ เวลาจบไม่ควรพูดคำว่า “ขอบคุณ” เว้นแต่ว่าเป็นคนขอขึ้นมาพูดหรือขอมาพูดเอง อาจกล่าวคำว่า “สวัสดี” แทน “ขอบคุณ”ก็ได้
การพูดในที่ชุมชน
การพูดในที่ชุมชน คือ การพูดในที่สาธารณะ มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ผู้พูดต้องสนใจปฏิกิริยาตอบสนอง ผู้ฟัง ทั้งเป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษาการพูดต่อหน้าประชุมชนเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้พูดได้แสดง ความสามารถเฉพาะตัวเพราะทุกคนที่ไม่เป็นใบ้ย่อมพูดได้ แต่บางคนเท่านั้นที่พูดเป็น เพราะการพูด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่จำเป็นต้องอาศัยพรสวรรค์เสมอไปแต่สามารถพูดได้ เพราะการศึกษา การ ฝึกฝน ฉะนั้นการฝึกพูดในที่ประชุมชน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงบุคลิกภาพทั้งภายในและ ภายนอกเพื่อการเป็นนักพูดที่ดี | |
วิธีการพูดในที่ชุมชน | |
๑. พูดแบบท่องจำ เตรียมเรื่องพูดอย่างมีคุณค่า สาระถูกต้องเหมาะสม แล้วจำเรื่องพูดให้ได้ เวลา
พูดให้เป็น ธรรมชาติ มีลีลา จังหวะ ถ่ายทอดออกมาทุกตัวอักษร ๒. พูดแบบมีต้นฉบับ พูดไปอ่านไป จากต้นร่างที่เตรียมมาอย่างดีแล้ว แต่ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่าน เพราะไม่ใช่ ผลดีสำหรับผู้พูด ๓. พูดจากความเข้าใจ เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า ถ่ายทอดสารจากความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีต้นฉบับ เฉพาะหัวข้อสำคัญเท่านั้น เช่น การพูด , สนทนา , อภิปราย , สัมภาษณ์ ๔. พูดแบบกะทันหัน พูดโดยไม่มีโอกาสเตรียมตัวเลย ซึ่งผู้พูดต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ ปัญหาฉพาะหน้า เมื่อทราบว่าตนเองต้องได้พูด ต้องเตรียมลำดับความคิด และนำเสนออย่างฉับพลัน การพูดทั้ง 4 แบบนี้ เป็นวิธีการนำเสนอสารต่อผู้ฟัง ผู้พูดจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เพื่ออะไร เนื้อหา สาระ โอกาส และสถานการณ์ | |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)